รู้ทันโรคในจิ้งหรีด

โรคอิริโดไวรัส  ซึ่งเกิดจาก  cricket Iridovirus (CrIV) เป็น  dsDNA ไวรัส ลักษณะอณุภาคของไวรัสเป็นแบบ icosaheadral มีขนาดระหว่าง 151-167 นาโนเมตร โดยเชื้อนี้ติดต่อโดยการกิน ผ่านระบบทางเดินอาหาร สามารถเพิ่มจำนวนไซโตพลาสซึมของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ไขมัน ระยะเริ่มแรกอยู่ที่เซลลของร่างกาย ส่วนระยะสุดท้ายอยู่ที่ชั้นใต้ผิวหนัง ของเหลวในหลอดลม กล้ามเนื้อผนังลำไส้ ถุงหุ้มอวัยวะสืบพันธุ์ และเซลลเม็ดเลือดของแมลง โดยจิ้งหรีดจะแสดงอาการหลังจากการติดเชื้อ 14 วัน ในระยะตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย โดยแสดงอาการท้องบวม เงื่อหงอยอย่างเห็นได้ชัด และช่วงอายุสั้น ซึ่งสามารถมองเห็นรอยโรคได้ด้วยตาเปล่า คือ ส่วนท้องขยายใหญ่ มีของเหลวสีขาวขุ่น เป็นมันวาว อัดแน่นอยู่เต็มช่องท้อง และเมื่อถูกกับอากาศจะกลายเป็นสีฟ้าอ่อนๆ

        ดังนั้น    หากพบจิ้งหรีดป่วย  หรือ ตายให้ทำลายจิ้งหรีดโดยขุดหลุมลึกไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร เพื่อป้องกันสัตว์อื่นมาขุดคุ้ย และราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ ปูนขาว และที่สำคัญ ต้องล้างและทำความสะอาดบ่อ และอุปกรณ์ที่เลี้ยงทันที และต้องพัก บ่อเลี้ยง หรือตู้เลี้ยง โรงเรือน อย่างน้อย 14-21 วันเป็นอย่างน้อย ก่อนนำจิ้งหรีด ปล่อยในโรงเรือน อีกครั้ง


การเลี้ยงจิ้งหรีดควรเปลี่ยนแม่พันธ์ทุกๆ 10 รุ่น เพื่อป้องกันการเกิดสายเลือดชิด ซึ่งจะทำให้จิ้งหรีดแข็งแรงไม่เป็นโรคได้ง่าย

              อ้างอิงข้อมูลจาก อธิบดีกรมปศุสัตว์ นาย สัตวแพทย์ศักดิ์ชัย ศรีบุญเชื้อ
ขับเคลื่อนโดย Blogger.