มูลจิ้งหรีดมีประโยชน์ บ้านฟาร์มลุงบิว
ส่งเสริมเลี้ยงจิ้งหรีด รายได้ดี มูลมีประโยชน์บ้านหนองหญ้าไซ หมู่บ้านที่มีการทำเกษตรที่หลากหลาย อาทิเช่น การปลูกยางพารา คิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ ปลูกข้าวเหนียว มันสำปะหลัง เป็นต้น หลังฤดูการเก็บเกี่ยวจากการทำนาเกษตรกรจะปลูกถั่วเหลือง เพราะพืชตระกูลนี้ขึ้นชื่อเรื่องให้ธาตุอาหารอยู่แล้วจึงทำให้ไม่สิ้นเปลืองเรื่องปุ๋ยในการบำรุงดิน เกษตรกรสามารถทำรายได้ ในพื้นที่ได้ตลอดทั้งปี ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านแห่งนี้เป็นพื้นที่ดินราบสูง ดินเชิงเขา มีแร่ธาตุที่สำคัญ จึงมีความอุดมสมบูรณ์หลายอย่าง เกษตรกรมีความเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน วิถีชีวิตยังคงเป็นแบบการพึ่งพากันของคนในชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ สปก. คือใช้เฉพาะในด้านการทำกินเพียงอย่างเดียว
นายเข็มชาย คุ้มห้างสูง หนึ่งในเกษตรกรบ้านหนองหญ้าไซ วัย 63 ปี ทำการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ 20 ไร่ แบ่งเป็นการทำนา 16 ไร่ พื้นที่ในการทำสวนและที่อยู่อาศัยอีก 4 ไร่ ประกอบอาชีพเสริมด้วยการปลูกกล้วยหอมทองใหญ่ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่งวง และยังมีพื้นที่การปลูกยางพาราอีก 20 ไร่ ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าด้วยการปลูกข้าวโพดในร่องสวนยางพาราอีกด้วย ความน่าสนใจในอาชีพของชายผู้นี้มีอีกหนึ่งอย่าง นั่นคือ การเลี้ยงจิ้งหรีดนั่นเอง หากจะกล่าวเฉพาะการเลี้ยงจิ้งหรีดก็ดูจะธรรมดาไป ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงมูลจิ้งหรีด ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง แต่ก่อนอื่นขอนำพาไปรู้จักกับจิ้งหรีดกันก่อน
จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวม หนวดยาว ขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้ จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีดมีหลายชนิด หลายขนาดแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ
จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 ชนิด
1. จิ้งหรีดดำ ลำตัวกว้างประมาณ 0.70 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ตามธรรมชาติมี 3 สี คือ สีดำ สีทอง สีอำพัน โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ จะมีจุดสีเหลืองที่โคนปีก 2 จุด
2. จิ้งหรีดทองแดง ลำตัวกว้างประมาณ 0.60 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมด้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือ มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก จิ้งหรีดม้า เป็นต้น
3. จิ้งหรีดเล็ก มี ขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางท้องที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด เป็นต้น ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนี่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง
4. จิ้งโก่ง เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็นต้น
5. จิ้งหรีดทองแดงลาย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครี่งตัว และชนิดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองดแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง
ประโยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด
1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภค
3. เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
4. เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ เป็ด ปลา และอื่น ๆ
5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)
ปัจจุบันคนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหาร เพราะมีโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ ในธรรมชาติจะหาจิ้งหรีดมาเพื่อบริโภคได้ไม่มากนัก บางฤดูมีมาก บางฤดูแทบจะหาไม่ได้เลย เช่นฤดูหนาว จิ้งหรีดจะขยายพันธุ์ช้า แต่ถ้าหากเกษตรกรนำมาเลี้ยงและมีการจัดการที่ดี ก็สามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีจิ้งหรีดไว้บริโภคหรือจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี
เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดในหน้าหนาว
จิ้งหรีด ถือว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายทำรายได้เร็ว เลี้ยงเพียง 45 - 50 วัน ก็สามารถจับจำหน่ายได้แล้ว แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับผู้เลี้ยง คือ ในช่วงหน้าหนาวจิ้งหรีดจะชะงักการเจริญเติบโต ตัวจะโตไม่เสมอ ไม่ออกไข่ขยายพันธุ์ไม่ได้ และที่สำคัญคือ การตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดทุน ดังนั้นจึงมีวิธีการดีๆ ซึ่งหลายคนมองข้าม จากเกษตรกรท่านนี้คือ คุณเข็มชาย ผู้เลี้ยงจิ้งหรีดมายาวนาน ได้ปรับวิธีการที่ง่ายและประหยัดมาบอกกัน
วัสดุอุปกรณ์
1.หลอดไฟฟ้า 100 วัต จำนวน 1 หลอด
2.แกลบดิบ
3.ไม้สำหรับแขวนหลอดไฟ
วิธีการง่ายๆ คือ เทรองด้วยแกลบดิบให้หนากว่าปกติ 1 นิ้ว ให้นำหลอดไฟ ต่อลงในบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด บ่อละ 1 หลอด ห้อยด้วยไม้แกนกลาง ให้สูงจากตัวแผงไข่ไก่ที่เป็นที่อยู่ประมาณ 20 ซม. เปิดไฟตั้งแต่เวลา 19.00 น. – 21.00 นาฬิกา จะช่วยป้องกันการตายของจิ้งหรีด และทำให้สามารถจับจิ้งหรีดจำหน่ายได้ในระยะปกติคือ 45 – 50 วัน ซึ่งในช่วงนี้จิ้งหรีดจะมีราคาแพงมากอยู่ที่ 120 – 150 บาท ในราคาขายส่ง ของพื้นที่ อ.เมือง จ.เลย ซึ่งโดยปกติในช่วงหน้าฝนหรือร้อน จะจำหน่ายได้เพียง กก. ละ 70 – 75 บาท เท่านั้น
ลดต้นทุนการเลี้ยงปลาดุกด้วยมูลจิ้งหรีด
จิ้งหรีดจะมีมูลที่ถ่ายออกมาซึ่งเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงสำหรับสัตว์ชนิดอื่น โดยเฉพาะปลา และอาหารที่จิ้งหรีดกินนั้นจะเป็นอาหารไก่เล็กมีโปรตีนสูงกว่า 20 % ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง ที่จะนำเป็นอาหารเพื่อการเลี้ยง ปลา ซึ่งแม้ในพื้นที่ของคุณพ่อเข็มชาย จะไม่มีการเลี้ยงไก่บนบ่อปลา แต่ได้ปรับใช้เป็นการนำเอาขี้จิ้งหรีดที่ได้ไปเลี้ยงปลาดุก แทนการซื้อรำหรือซื้ออาหารปลานั่นเอง ซึ่งในแต่ละรอบจะมีขี้จิ้งหรีดที่ใช้สำหรับเป็นอาหารปลาไม่ต่ำกว่า 500 กก. เลยทีเดียว
วัสดุอุปกรณ์
1.มุ้งเขียว ใช้สำหรับร่อนคัดแยกขี้จิ้งหรีดจากแกลบดิบ
2.กระสอบปุ๋ย ใช้สำหรับเก็บขี้จิ้งหรีดที่คัดแยกแล้ว
3.กะละมัง สำหรับตักผสมหัวอาหาร หรือ อาหารเสริมอื่น ให้ปลา
วิธีการคัดแยกมูลจิ้งหรีด
โดยปกติการเลี้ยงจิ้งหรีดจะมีการเทแกลบดิบเพื่อผสมรองพื้นอยู่ดังนั้นต้องมีการคัดแยกแกลบออกจากมูลจิ้งหรีด ดังนี้
ขั้นตอนคือ หลังจากที่จับจิ้งหรีดจำหน่ายแล้ว ให้ใช้ผ้าเขียวร่อนเอาเฉพาะส่วนของมูลจิ้งหรีดแยกใส่
กระสอบสำหรับให้ปลากิน ซึ่งขี้จิ้งหรีดที่ได้จะมีส่วนผสมของรำ แต่มีโปรตีนและคุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าเป็นที่ชื่นชอบของปลาดุก ลดต้นทุนเกษตรได้กว่า 50 % เพราะไม่ต้องซื้ออาหารปลาเพิ่ม
การให้อาหารปลาดุกโดยใช้มูลจิ้งหรีดแทนอาหารเม็ด
วิธีที่ 1. หว่านหรือโรยมูลจิ้งหรีดที่แห้งให้วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
วิธีที่ 2. แปรรูปโดยการเพิ่มคุณค่าทางอาหาร คือ ให้นำเอามูลจิ้งหรีดที่ร่อนแล้ว ผสมกับน้ำซาวที่ผ่านการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ (ทิ้งให้เย็นก่อน) ผสมลงไปให้พอจับตัวเป็นก้อนได้ ปั้นขนาดเท่าลูกปิงปอง โยนลงบ่อ กระชังละ 10 ก้อน /กระชัง (ปลาประมาณ 500 ตัว /กระชัง) ให้กินเช้า - เย็น ปลาจะตัวอ้วน และสามารถจับขายได้เร็วกว่าการเลี้ยงเฉพาะอาหารเม็ด
การทำปุ๋ยหมักในนาข้าวด้วยกากถั่วเหลืองและมูลจิ้งหรีด
จังหวัดเลย ถือว่าเป็นแหล่งผลิตถั่วเหลือง ที่ใหญ่แห่งหนึ่ง หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วเกษตรกร จะตัดตอซังข้าวและหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยว 3 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังจากจำหน่ายเมล็ดถั่วเหลืองแล้วเกษตรกรจะเหลือวัตถุดิบอีกอย่างหนึ่งคือกากถั่วเหลือง กากถั่วเหลืองนี้นับว่าเป็นปุ๋ยอย่างดี ซึ่งมีวิธีการทำปุ๋ยหมักจากกากถั่วเหลืองและมูลจิ้งหรีดมาฝากท่านที่สนใจ เป็นสูตรที่ทำให้คุณพ่อเข็มชายได้ลดต้นทุนเป็นอย่างมาก อีกทั้งวิธีการทำปุ๋ยหมักนี้ ยังเป็นภูมิปัญญาที่ถือว่าพ่อเข็มชายได้ใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
วัตถุดิบ
1.กากถั่วเหลืองที่เหลือ จากการสี แยกเมล็ดจำหน่าย 100 กก.
2.มูลจิ้งหรีดจากโรงเรือน ที่มีส่วนผสมของแกลบดิบอยู่แล้ว 100 กก.
3.กากน้ำตาล 10 กก.
วิธีการคือ
คลุกเคล้าส่วนผสมเข้าด้วยกัน กลับปุ๋ยทุก 3 วัน หมักทิ้งไว้ 3 เดือน จะได้ปุ๋ยหมักใส่นาข้าว ซึ่งคุณพ่อเข็มชายทำแบบนี้ทุกปี ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้ แบบไม่ต้องใช้ปุ๋ยใส่นาข้าว ทำแบบนี้มากว่า 3 ปี ปัจจุบันในนาข้าวไม่ต้องพึ่งสารเคมี ข้าวไม่เป็นโรค ต้นแข็งแรง รวงข้าวโต เมล็ดสมบูรณ์มาก
การนำไปใช้ในนาข้าว
ปีที่ 1 ให้ใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีด 300 กก./ไร่
ปีที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีด 200 กก./ไร่
ปีที่ 3 ให้ใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีด 100 กก./ไร่
ส่วนปีที่ 4 ใช้เพียงการไถกลบต้นถั่วเหลือง หลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้วก็พอ
ผลประโยชน์ที่ได้จากการใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีดในนาข้าว คือ เดิมได้ข้าวเปลือก ปีละ 600 กก./ไร่ กลายเป็น 800 - 900 กก./ไร่ ซึ่งไม่ต้องมีต้นทุนการใส่ปุ๋ยเคมี
กล้วยหอมทอง เป็นอีกหนึ่งพืชที่ทำรายได้ให้กับพ่อเข็มชาย โดยที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี แต่ได้นำเอาปุ๋ยหมักจากมูลจิ้งหรีดมาใช้ด้วยเหมือนกัน คือ นำเอาปุ๋ยหมักที่ได้ รองก้นหลุมก่อน หลุมละ 3 กก. จากนั้น ก็ผสมกับดินก่อนนำเอาหน่อพันธุ์กล้วยหอมทองลงปลูก ซึ่งจะได้กล้วยหอมทองที่รสชาดดี ผิวสวย ฝักสมบูรณ์ น่ากิน ขายได้กว่า หวีละ 30 บาท เลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูล ภูมิปัญญาจาก :นายเข็มชาย คุ้มห้างสูง บ้านหนองหญ้าไซ ต.นาดินดำ อ.เมือง จ.เลย
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร จ.ขอนแก่น
นายเข็มชาย คุ้มห้างสูง หนึ่งในเกษตรกรบ้านหนองหญ้าไซ วัย 63 ปี ทำการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ 20 ไร่ แบ่งเป็นการทำนา 16 ไร่ พื้นที่ในการทำสวนและที่อยู่อาศัยอีก 4 ไร่ ประกอบอาชีพเสริมด้วยการปลูกกล้วยหอมทองใหญ่ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่งวง และยังมีพื้นที่การปลูกยางพาราอีก 20 ไร่ ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าด้วยการปลูกข้าวโพดในร่องสวนยางพาราอีกด้วย ความน่าสนใจในอาชีพของชายผู้นี้มีอีกหนึ่งอย่าง นั่นคือ การเลี้ยงจิ้งหรีดนั่นเอง หากจะกล่าวเฉพาะการเลี้ยงจิ้งหรีดก็ดูจะธรรมดาไป ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงมูลจิ้งหรีด ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง แต่ก่อนอื่นขอนำพาไปรู้จักกับจิ้งหรีดกันก่อน
จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวม หนวดยาว ขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้ จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีดมีหลายชนิด หลายขนาดแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ
จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 ชนิด
1. จิ้งหรีดดำ ลำตัวกว้างประมาณ 0.70 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ตามธรรมชาติมี 3 สี คือ สีดำ สีทอง สีอำพัน โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ จะมีจุดสีเหลืองที่โคนปีก 2 จุด
2. จิ้งหรีดทองแดง ลำตัวกว้างประมาณ 0.60 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมด้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือ มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก จิ้งหรีดม้า เป็นต้น
3. จิ้งหรีดเล็ก มี ขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางท้องที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด เป็นต้น ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนี่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง
4. จิ้งโก่ง เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็นต้น
5. จิ้งหรีดทองแดงลาย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครี่งตัว และชนิดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองดแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง
ประโยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด
1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภค
3. เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
4. เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ เป็ด ปลา และอื่น ๆ
5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)
ปัจจุบันคนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหาร เพราะมีโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ ในธรรมชาติจะหาจิ้งหรีดมาเพื่อบริโภคได้ไม่มากนัก บางฤดูมีมาก บางฤดูแทบจะหาไม่ได้เลย เช่นฤดูหนาว จิ้งหรีดจะขยายพันธุ์ช้า แต่ถ้าหากเกษตรกรนำมาเลี้ยงและมีการจัดการที่ดี ก็สามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีจิ้งหรีดไว้บริโภคหรือจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี
เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดในหน้าหนาว
จิ้งหรีด ถือว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายทำรายได้เร็ว เลี้ยงเพียง 45 - 50 วัน ก็สามารถจับจำหน่ายได้แล้ว แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับผู้เลี้ยง คือ ในช่วงหน้าหนาวจิ้งหรีดจะชะงักการเจริญเติบโต ตัวจะโตไม่เสมอ ไม่ออกไข่ขยายพันธุ์ไม่ได้ และที่สำคัญคือ การตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดทุน ดังนั้นจึงมีวิธีการดีๆ ซึ่งหลายคนมองข้าม จากเกษตรกรท่านนี้คือ คุณเข็มชาย ผู้เลี้ยงจิ้งหรีดมายาวนาน ได้ปรับวิธีการที่ง่ายและประหยัดมาบอกกัน
วัสดุอุปกรณ์
1.หลอดไฟฟ้า 100 วัต จำนวน 1 หลอด
2.แกลบดิบ
3.ไม้สำหรับแขวนหลอดไฟ
วิธีการง่ายๆ คือ เทรองด้วยแกลบดิบให้หนากว่าปกติ 1 นิ้ว ให้นำหลอดไฟ ต่อลงในบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด บ่อละ 1 หลอด ห้อยด้วยไม้แกนกลาง ให้สูงจากตัวแผงไข่ไก่ที่เป็นที่อยู่ประมาณ 20 ซม. เปิดไฟตั้งแต่เวลา 19.00 น. – 21.00 นาฬิกา จะช่วยป้องกันการตายของจิ้งหรีด และทำให้สามารถจับจิ้งหรีดจำหน่ายได้ในระยะปกติคือ 45 – 50 วัน ซึ่งในช่วงนี้จิ้งหรีดจะมีราคาแพงมากอยู่ที่ 120 – 150 บาท ในราคาขายส่ง ของพื้นที่ อ.เมือง จ.เลย ซึ่งโดยปกติในช่วงหน้าฝนหรือร้อน จะจำหน่ายได้เพียง กก. ละ 70 – 75 บาท เท่านั้น
ลดต้นทุนการเลี้ยงปลาดุกด้วยมูลจิ้งหรีด
จิ้งหรีดจะมีมูลที่ถ่ายออกมาซึ่งเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงสำหรับสัตว์ชนิดอื่น โดยเฉพาะปลา และอาหารที่จิ้งหรีดกินนั้นจะเป็นอาหารไก่เล็กมีโปรตีนสูงกว่า 20 % ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง ที่จะนำเป็นอาหารเพื่อการเลี้ยง ปลา ซึ่งแม้ในพื้นที่ของคุณพ่อเข็มชาย จะไม่มีการเลี้ยงไก่บนบ่อปลา แต่ได้ปรับใช้เป็นการนำเอาขี้จิ้งหรีดที่ได้ไปเลี้ยงปลาดุก แทนการซื้อรำหรือซื้ออาหารปลานั่นเอง ซึ่งในแต่ละรอบจะมีขี้จิ้งหรีดที่ใช้สำหรับเป็นอาหารปลาไม่ต่ำกว่า 500 กก. เลยทีเดียว
วัสดุอุปกรณ์
1.มุ้งเขียว ใช้สำหรับร่อนคัดแยกขี้จิ้งหรีดจากแกลบดิบ
2.กระสอบปุ๋ย ใช้สำหรับเก็บขี้จิ้งหรีดที่คัดแยกแล้ว
3.กะละมัง สำหรับตักผสมหัวอาหาร หรือ อาหารเสริมอื่น ให้ปลา
วิธีการคัดแยกมูลจิ้งหรีด
โดยปกติการเลี้ยงจิ้งหรีดจะมีการเทแกลบดิบเพื่อผสมรองพื้นอยู่ดังนั้นต้องมีการคัดแยกแกลบออกจากมูลจิ้งหรีด ดังนี้
ขั้นตอนคือ หลังจากที่จับจิ้งหรีดจำหน่ายแล้ว ให้ใช้ผ้าเขียวร่อนเอาเฉพาะส่วนของมูลจิ้งหรีดแยกใส่
กระสอบสำหรับให้ปลากิน ซึ่งขี้จิ้งหรีดที่ได้จะมีส่วนผสมของรำ แต่มีโปรตีนและคุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าเป็นที่ชื่นชอบของปลาดุก ลดต้นทุนเกษตรได้กว่า 50 % เพราะไม่ต้องซื้ออาหารปลาเพิ่ม
การให้อาหารปลาดุกโดยใช้มูลจิ้งหรีดแทนอาหารเม็ด
วิธีที่ 1. หว่านหรือโรยมูลจิ้งหรีดที่แห้งให้วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
วิธีที่ 2. แปรรูปโดยการเพิ่มคุณค่าทางอาหาร คือ ให้นำเอามูลจิ้งหรีดที่ร่อนแล้ว ผสมกับน้ำซาวที่ผ่านการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ (ทิ้งให้เย็นก่อน) ผสมลงไปให้พอจับตัวเป็นก้อนได้ ปั้นขนาดเท่าลูกปิงปอง โยนลงบ่อ กระชังละ 10 ก้อน /กระชัง (ปลาประมาณ 500 ตัว /กระชัง) ให้กินเช้า - เย็น ปลาจะตัวอ้วน และสามารถจับขายได้เร็วกว่าการเลี้ยงเฉพาะอาหารเม็ด
การทำปุ๋ยหมักในนาข้าวด้วยกากถั่วเหลืองและมูลจิ้งหรีด
จังหวัดเลย ถือว่าเป็นแหล่งผลิตถั่วเหลือง ที่ใหญ่แห่งหนึ่ง หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วเกษตรกร จะตัดตอซังข้าวและหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยว 3 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังจากจำหน่ายเมล็ดถั่วเหลืองแล้วเกษตรกรจะเหลือวัตถุดิบอีกอย่างหนึ่งคือกากถั่วเหลือง กากถั่วเหลืองนี้นับว่าเป็นปุ๋ยอย่างดี ซึ่งมีวิธีการทำปุ๋ยหมักจากกากถั่วเหลืองและมูลจิ้งหรีดมาฝากท่านที่สนใจ เป็นสูตรที่ทำให้คุณพ่อเข็มชายได้ลดต้นทุนเป็นอย่างมาก อีกทั้งวิธีการทำปุ๋ยหมักนี้ ยังเป็นภูมิปัญญาที่ถือว่าพ่อเข็มชายได้ใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
วัตถุดิบ
1.กากถั่วเหลืองที่เหลือ จากการสี แยกเมล็ดจำหน่าย 100 กก.
2.มูลจิ้งหรีดจากโรงเรือน ที่มีส่วนผสมของแกลบดิบอยู่แล้ว 100 กก.
3.กากน้ำตาล 10 กก.
วิธีการคือ
คลุกเคล้าส่วนผสมเข้าด้วยกัน กลับปุ๋ยทุก 3 วัน หมักทิ้งไว้ 3 เดือน จะได้ปุ๋ยหมักใส่นาข้าว ซึ่งคุณพ่อเข็มชายทำแบบนี้ทุกปี ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้ แบบไม่ต้องใช้ปุ๋ยใส่นาข้าว ทำแบบนี้มากว่า 3 ปี ปัจจุบันในนาข้าวไม่ต้องพึ่งสารเคมี ข้าวไม่เป็นโรค ต้นแข็งแรง รวงข้าวโต เมล็ดสมบูรณ์มาก
การนำไปใช้ในนาข้าว
ปีที่ 1 ให้ใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีด 300 กก./ไร่
ปีที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีด 200 กก./ไร่
ปีที่ 3 ให้ใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีด 100 กก./ไร่
ส่วนปีที่ 4 ใช้เพียงการไถกลบต้นถั่วเหลือง หลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้วก็พอ
ผลประโยชน์ที่ได้จากการใส่ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีดในนาข้าว คือ เดิมได้ข้าวเปลือก ปีละ 600 กก./ไร่ กลายเป็น 800 - 900 กก./ไร่ ซึ่งไม่ต้องมีต้นทุนการใส่ปุ๋ยเคมี
กล้วยหอมทอง เป็นอีกหนึ่งพืชที่ทำรายได้ให้กับพ่อเข็มชาย โดยที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี แต่ได้นำเอาปุ๋ยหมักจากมูลจิ้งหรีดมาใช้ด้วยเหมือนกัน คือ นำเอาปุ๋ยหมักที่ได้ รองก้นหลุมก่อน หลุมละ 3 กก. จากนั้น ก็ผสมกับดินก่อนนำเอาหน่อพันธุ์กล้วยหอมทองลงปลูก ซึ่งจะได้กล้วยหอมทองที่รสชาดดี ผิวสวย ฝักสมบูรณ์ น่ากิน ขายได้กว่า หวีละ 30 บาท เลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูล ภูมิปัญญาจาก :นายเข็มชาย คุ้มห้างสูง บ้านหนองหญ้าไซ ต.นาดินดำ อ.เมือง จ.เลย
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร จ.ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น